วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

" ความแตกต่างระหว่างรัฐเดี่ยวกับรัฐรวม"

          การที่เราจะรู้ได้ว่ารัฐเดี่ยวกับรัฐรวมนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรก่อนอื่นเราต้องพิจารณาจากรูปแบบที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างรัฐเดี่ยวกับรัฐรวม ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง  การที่เราจะทราบได้ว่าประเทศใดที่เป็นรัฐเดี่ยวหรือประเทศใดที่เป็นรัฐรวมนั้นเราสามารถดูได้จากรูปแบบของรัฐบาลว่ามีกี่ระดับซึ่งระดับของรัฐบาลนั้นจะทำให้เราทราบได้ว่าประเทศใดเป็นรัฐเดี่ยวหรือประเทศใดเป็นรัฐรวมสามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
            1.รัฐเดี่ยว หมายถึงรัฐซึ่งมีการปกครองเป็นเอกภพไม่ได้แบ่งแยกออกจากกัน  มีรัฐบาลกลางปกครองประเทศเพียงรัฐบาลเดียว    แม้ว่าจะมีการกระจายอำนาจปกครองให้แก่ท้องถิ่นแต่ก็ยังอยู่ในความควบคุมของรัฐบาลกลางมีประมุขของรัฐแต่เพียงผู้เดียวและองค์การนิติบัญญัติองค์การเดียว  เช่น ประเทศไทย รัฐธรรมนูญทุกฉบับมักจะระบุว่าประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้   ฝรั่งเศส  เบลเยี่ยม  ฮอลแลนด์  สเปน  และ โปรตุเกต  ก็อยู่ในรูปของรัฐเดี่ยวทั้งสิ้น
***รัฐเดี่ยว  คือ ถ้าเป็นรัฐเดี่ยวก็จะมีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียว เป็น รูปแบบของรัฐแบบหนึ่งโดยมีรัฐบาลเดียว เหมาะสำหรับประเทศที่มีลักษณะทางเชื้อชาติที่กลมกลืน ประชาชนมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้น รับรู้ถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์เดียวกัน ทำให้รัฐบาลสามารถสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเหมาะสมใช้อำนาจอธิปไตยปกครองทั้งดินแดน ประเทศที่ใช้รูปแบบนี้เช่น ประเทศไทย , ประเทศอังกฤษ เป็นต้น
***รัฐเดียว ก็อย่างประเทศไทย เราจะเรียกเต็มๆว่าราชอาณาจักรไทย คือ ปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข ซึ่ง รัฐเดียว จะมีการบังคับกฏหมายเดียวกันทั้งประเทศ ประเทศที่เป็นรัฐเดียวก็มีเยอะ เช่นประเทศ ไทย เยอรมัน อังกฤษ
(นับเฉพาะอังกฤษ ไม่รวมสหราชอาณาจักร) คือเป็นประเทศเดียวเลย
           2. รัฐรวม คือ  ระบบรัฐที่แบ่งการบริหารออกเป็นสองระดับ คือ การบริหารส่วนกลางโดยรัฐบาลกลาง กับกับบริหารส่วนท้องถิ่นที่บริหารโดยรัฐบาลท้องถิ่นรัฐ โดยที่รัฐบาลท้องถิ่นจะมีอำนาจในกิจการภายในบางประการเท่าทีรัฐบาลกลางมอบให้ แต่ไม่มีอำนาจในกิจการภายนอก  ซึ่่งรัฐบาลรวมที่แบ่งการบริหารออกเป็นสองระดับนั้นสามารถตอบสนองต่อภาคท้องถิ่นหรือมลรัฐได้มากกว่ารัฐเดี่ยว
***รัฐรวม หรือ สหรัฐ คือ ใน 1 ประเทศจะมีรัฐรวมกันหลายรัฐ ซึ่งแต่ละรัฐ ก็จะมีกฏหมายเป็นเป็นของตนเอง แต่จะมีกฏหมายกลางของประเทศด้วยเพื่อครอบคุมรัฐต่างๆด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา ในประเทศจะมีหลายรัฐ เช่น โอกลาโฮมา อลาบามา หรือนิวยอร์ก เป็นต้น ยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย คือ ในรัฐรัฐหนึ่งจะมีตำรวจท้องถิ่นในรัฐปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติตามกฏหมายของรัฐนั้นๆ เท่านั้น แต่อเมริกา จะมีตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานกลางได้ทั่วทั้งประเทศคือ  FBI  เราจะรู้สึกว่าคุ้นกับชื่อ FBI เพราะเนื่องจาก FBI จะปฏิบัติตามกฏหมายกลางของประเทศ ปฏิบัติงานดูแลคดีที่ใหญ่ระดับประเทศ
     แต่ละรัฐจะมีกฏหมายของตน ดังนั้น ถ้าประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยวก็จะใช้กฏหมายเดียวทั้งประเทศ ส่วนประเทศที่เป็นรัฐรวมแต่ละรัฐก็จะมีกฏหมายของตนเอง   ดังนั้นประเทศที่เป็นลักษณะรัฐรวมจะมีกฏหมายหลายๆ ฉบับของแต่ละรัฐยกตัวอย่างเช่นถ้าหากเราเดินทางไปสหรัฐอเมริกาถ้าเดินทางข้ามรัฐก็ต้องปฏิบัติตามกฏหมายของรัฐใหม่ทันที

***รัฐรวม จึงมีลักษณะเป็น รัฐต่างๆ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป ซึ่งได้เข้ามารวมกันภายใต้รัฐบาลเดียวกัน หรือ ประมุขเดียวกัน อาจด้วยความสมัครใจของทุกรัฐเพื่อประโยชน์ร่วมกัน โดยที่แต่ละรัฐต่างก็ยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่อย่างเดิม เพียงแต่การใช้อำนาจอธิปไตยได้ถูกจำกัดลงไปบ้าง มากบ้างน้อยบ้างตามแต่รัฐธรรมนูญจะกำหนด หรือตามแต่ข้อตกลงที่ได้ให้ไว้ ทั้งนี้ เพราะว่าได้นำเอาอำนาจนี้บางส่วนมาให้รัฐบาล หรือ ประมุข เป็นผู้ใช้ ซึ่งแต่ละรัฐนั้นอยู่ภายใต้อำนาจสูงสุดเดียวกัน โดยที่รัฐรวมในรูปแบบอื่น เช่น สมาพันธรัฐ นั้น ส่วนมากก็ได้กลายเป็นอดีตกันไปหมดแล้ว ยกเว้นกรณี สหพันธรัฐ เท่านั้น ประเทศที่เป็นรัฐรวมหลายรัฐที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ล้วนอยู่ในรูปแบบของ สหรัฐ หรือ สหพันธรัฐ ทั้งสิ้น

3 ความคิดเห็น:

  1. ผมชอบที่ให้เนื้อหามาระเอียด

    ตอบลบ
  2. ขอบคุนมากนะครับเปนความรุ้อย่างยิ่ง. ผมจะเอาไปเรียนออนไลน์ของคุนครู

    ตอบลบ
  3. สอบถามครับ กัมพูชา เป็นรัฐแบบไหนครับ

    ตอบลบ